Blogger by Hasana

ขอบคุณทุกคนที่มาเยี่ยมชมค่ะ

การสรุป

เทคนิคการสรุปบทเรียน  


เทคนิคการสรุปบทเรียน  หมายถึง  กลวิธีในการรวบรวมใจความหรือเนื้อเรื่องที่สำคัญ ๆ ที่ผู้สอนต้องการจะให้ผู้เรียนทราบเข้าด้วยกัน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจในบทเรียนตามลำดับขั้นตอนที่ถูกต้องและสมบูรณ์ขึ้น โดยทั่ว ๆ ไปการสรุปบทเรียนจะทำทุกครั้งหลังจากที่สอนจบบทเรียนแล้ว เพื่อผู้เรียนจะได้มองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างของความรู้และทักษะต่าง ๆ ที่ได้รับ ได้แนวคิดที่ถูกต้องในบทเรียนนั้น  และเชื่อมโยงไปสู่การเรียนรู้ในเนื้อหาต่อไป
วิธีการสรุปบทเรียนอาจทำได้หลายวิธี
โดยครูอาจจะใช้คำถามและพยายามให้มีแต่ละสาระสำคัญ  และเรียบเรียงอย่างเหมาะสมอาจจะให้นักเรียนรวบรวมการสรุปลงในสมุด
                1. 
                2.  สรุปจากการปฏิบัติ  เช่น  ให้นักเรียนสังเกตการสาธิตการทดลองและพยายามชี้ให้นักเรียนเห็นความสำคัญของวิชาความรู้เดิม  หรือบทเรียนที่เพิ่งเรียนจบกับบทเรียนที่จะเรียนในอนาคต
                3.  สรุปจากการสร้างสถานการณ์  โดยครูสร้างสถานการณ์ให้สอดคล้องกับบทเรียนและให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นออกมา
                4.  สรุปจากการใช้อุปกรณ์  โดยครูอาจจะใช้อุปกรณ์การสอนมาช่วยให้การสรุปบทเรียนให้ง่ายขึ้น เช่น  เมื่อนำเครื่องมือทางเกษตรมาให้นักเรียนดู  นักเรียนสามารถสรุปข้อควรระวังในการใช้ได้ถูกต้อง
 การสรุปทบทวนบทเรียน  ครูไม่จำเป็นต้องทบทวนสรุปเองทั้งหมด  ควรให้นักเรียนมีส่วนร่วม 

การสรุปมี 2 ลักษณะ
                1.สรุปทางด้านความรู้ คือ การเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิมได้ และสามารถจับความคิดรวบยอดได้
                2.สรุปทางด้านสังคม คือมีการชมเชยให้กำลังใจ ทำให้นักเรียนรู้สึกว่าตนเองนั้นเกิดการเรียนรู้
ครูจะทดสอบว่านักเรียนสามารถสัมพันธ์ความรู้เดิมและความรู้ใหม่เข้าด้วยกันได้ดีโดยอาจทำได้ ดังนี้

                1.โดยการทบทวนสิ่งที่นักเรียนเรียนมาแล้วตามลำดับจนถึงบทเรียนที่จะเรียนใหม่
                2.โดยการสังเกตความสามารถของนักเรียนในการนำความรู้ที่ได้รับจากการเรียนในบทเรียนนั้นๆมาใช่กับเหตุการณ์ใหม่ๆที่คล้ายคลึงกับเหตุการณ์เดิม
                3.โดยการสังเกตความสามารถของนักเรียนในการนำความรู้ต่างๆมาให้สัมพันธ์กับบทเรียนใหม่ได้
ความสำคัญของการสรุปบทเรียน
                    1. เมื่อผู้เรียนได้เรียนเนื้อหาสาระสำคัญของบทเรียนมาแล้ว ความคิด ความเข้าใจยังกระจัดกระจาย หรือมีความสับสน การสรุปบทเรียนจะช่วยรวบรวมความคิด ความเข้าใจให้ชัดเจนแจ่มแจ้ง จนเกิดความคิดรวบยอดที่ถูกต้อง
                    2. เนื้อหาสาระในบทเรียนมักมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันทั้งภายในเรื่องเดียวกัน และเรื่องอื่นๆ ดังนั้นการสรุปบทเรียนในลักษณะโยงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของหัวข้อต่างๆ ภายในเรื่องเดียวกัน หรือระหว่างบทเรียนเก่ากับใหม่ จะช่วยให้ผู้เรียนเห็นความสัมพันธ์ต่อเนื่องอย่างชัดเจน
                    3. จุดมุ่งหมายของการศึกษาหาความรู้อยู่ที่การสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ การสรุปบทเรียนจะช่วยชี้นำให้นักเรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆได้

ข้อควรคำนึงในการสรุปบทเรียน
                1.  การสรุปทบทวนโดยการใช้คำถามต้องสัมพันธ์กับเนื้อหาและจุดประสงค์ของบทเรียน
                2.  วิธีการสรุปต้องสอดคล้องกับความสนใจและความสามารถของนักเรียน
                3.  การสรุปต้องเชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่นักเรียนรู้แล้วไปยังสิ่งที่ยังไม่รู้
                4.  การสรุปต้องสามารถใช้ประเมินบทเรียนว่ามีสาระและผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียนได้
                5.  การสรุปจะต้องเป็นการแนะแนวกาเรียนในครั้งต่อไป
ประโยชน์ของการสรุปบทเรียน
                1. ประมวลเรื่องราวที่สำคัญ ที่ได้เรียนไปแล้วเข้าด้วยกัน
                2. เชื่อมโยงกิจกรรมการเรียนการสอนเข้าด้วยกัน
                3. รวบรวมความสนใจของผู้เรียนเข้าด้วยกันอีกครั้งหนึ่งก่อนที่จะจบบทเรียน
                4. สร้างความเข้าใจในบทเรียนให้ดีขึ้น
                5. ช่วยส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ให้กับผู้เรียน ถ้าผู้สอนรู้จักให้ผู้เรียนคิดต่อไปว่าจะนำสิ่งที่เรียนไปประยุกต์ใช้ หรือนำไปใช้แก้ปัญหาได้อย่างไรบ้าง

ข้อเสนอแนะในการสรุปบทเรียน

                    1. การสรุปบทเรียนสามารถสรุปได้ทุกระยะ คือเมื่อสอนจบหัวข้อ จบตอน จบเรื่อง หรือเมื่อจบบทเรียน ในการสอนและครั้งผู้สอนอาจจะสรุปบทเรียนเป็นระยะๆ แล้วสรุปรวมตอนท้ายอีกครั้ง จะช่วยให้นักเรียนเข้าใจและสามารถติดตามบทเรียนได้โดยตลอด ถ้าไม่เข้าใจตอนใดก็สามารถแก้ไขได้ทันทีก่อนที่จะเรียนต่อไปจะช่วยให้การเรียนราบรื่นไปตลอด ดีกว่าที่ผู้สอนจะสรุปเมื่อจบบทเรียนครั้งเดียว
                    2. สรุปบทเรียนให้ครอบคลุมสาระสำคัญครบถ้วนและสรุปได้ชัดเจน ให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ สามมารถสัมพันธ์ความรู้เดิมกับความรู้ใหม่เข้าด้วยกัน และนำความรู้ไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆได้
                    3. ผู้สอนพยายามให้ผู้เรียนสรุปด้วยตอนเองก่อน เพื่อดูว่าผู้เรียนมีความเข้าใจถูกต้องหรือไม่ แล้วผู้สอนช่วยแก้ไขและส่งเสริมให้ถูกต้องสมบูรณ์ครบถ้วน โดยให้สรุปเป็นรายบุคคล หรือแบ่งกลุ่มช่วยกันสรุป
                    4. ผู้สอนและผู้เรียนช่วยกันสรุป โดยผู้สอนเป็นผู้ถามแล้วให้ผู้เรียนตอบจนสามารถได้สาระสำคัญครบถ้วน
                    5. ผู้สอนเป็นผู้สรุป ซึ่งควรจะทำเมื่อใช้วิธีให้ผู้เรียนสรุป หรือผู้สอนกับผู้เรียนช่วยกันสรุปมาแล้ว หรือเมื่อบทเรียนนั้นยากและสลับซับซ้อน หรือเมื่อต้องการจะโยงให้ผู้เรียนเห็นความสัมพันธ์ระหว่างบทเรียนที่เรียนไปแล้วกีบบทเรียนใหม่ หรือจะโยงให้เห็นความสัมพันธ์ต่อเนื่องของหัวข้อต่างๆในบทเรียนเดียวกัน
                    6. การสรุปต้องเชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่นักเรียน เรียนรู้แล้ว ไปสู่สิ่งที่นักเรียนยังไม่รู้
                    7. การสรุปบทเรียนที่ดี ควรสรุปเพื่อเป็นการแนะแนวสำหรับการเรียนในบทเรียนต่อไปด้วย

เอกสารอ้างอิง
เฉลิมศรี ทองแสง(2538). ทักษะและเทคนิคการสอน.ลพบุรี. สถาบันราชภัฎเทพสตรี. พิมพ์ครั้งที่ 2
 ประทุม ศรีรักษา(2547). เอกสารประกอบการสอนรายวิชาหลักการสอน. ลพบุรี. สถาบันราชภัฎเทพสตรี
ลัดดาวัลย์ พิชญพจน์(2537). ทักษะและเทคนิคการสอน Skills and Techingues of Teaching
อัญชลี  แจ่มเริญ และคณะ.  หลักการสอนและการเตรียมประสบการณ์ภาคปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 4.กรุงเทพฯ: เฉลิมชัยการพิมพ์2526.